หน่วยวิจัยและบริการโรคพืช
ภาควิชาโรคพืช มีภาระหน้าที่สำคัญในการให้บริการ ศึกษา วิจัย และให้บริการทางวิชาการในสาขาโรคพืช เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคพืชครอบคลุมถึงการจัดการดูแลเกี่ยวกับสุขภาพพืชปัญหาสำคัญที่พบใน กระบวนการผลิตพืช คือ ปัญหาในการจัดการดูแลเกี่ยวกับสุขภาพพืช ปัจจัยที่สำคัญที่เป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับสุขภาพพืช คือ โรคพืช แมลงศัตรูพืช การจัดการ ปัจจัยการผลิต เช่น ดิน น้ำ ปุ๋ยฯ และการจัดการสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก วิธีการจัดการด้านสุขภาพพืชควรเริ่มตั้งแต่การเตรียมการปลูกจนถึงระยะที่พืชเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวผลผลิตก็มักพบปัญหาสุขภาพพืชเกิดขึ้นได้เสมอ นอกจากนี้ความรู้ความเข้าใจในการวินิจฉัยสาเหตุของปัญหา สุขภาพพืชมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพพืชผิดพลาดจะก่อให้เกิดความสูญเสียในด้านต่างๆตามมา เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช การฟื้นฟูสภาพของพืช วัตถุประสงค์
1. ให้คำปรึกษาและแนะนำเกษตรกรและผู้สนใจในการจัดการระบบการผลิตเพื่อส่งเสริมสุขภาพพืชด้วยองค์ความรู้ และชุดเทคโนโลยี ด้านโรคพืช ตลอดจนการจัดการโรคพืชแบบบูรณาการที่เน้นถึงผลกระทบต่อสุขภาพ และ สภาวะแวดล้อม และความคุ้มทุนของเกษตรกร 2. วิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคของพืชเศรษฐกิจสำคัญ และการพัฒนาชุดตรวจสอบ และ/หรือกระบวนการตรวจสอบที่ไม่ซับซ้อน สะดวกรวดเร็ว ให้ผลถูกต้องแม่นยำ และภาคการผลิตสามารถนำไปใช้ได้ด้วยตนเอง 3. สำรวจแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคสำคัญของพืชเศรษฐกิจ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพยากรณ์การแพร่ระบาดของโรค 4. ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรเป้าหมายด้วยการจัดทำเอกสารคู่มือ การจัดการโรคสำคัญของพืชเศรษฐกิจ และจัดทำเป็นฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ในลำดับต่อไป 5 .จัดตั้งเป็นหน่วยงานรองรับการฝึกงานก่อนจบการศึกษา(internship)สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี โท และเอก สาขาโรคพืชให้มีพื้นฐานความรู้และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ด้านการวินิจฉัยและอารักขาพืชอย่างมีศักยภาพ
กิจกรรมของหน่วยวิจัยและบริการโรคพืช
1. บริการตรวจวินิจฉัยและให้คำปรึกษาและแนะนำเกษตรกรและผู้สนใจด้านโรคพืช
2. วิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคของพืชเศรษฐกิจสำคัญ ให้ผลถูกต้องแม่นยำ 3. สำรวจแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคสำคัญของพืชเศรษฐกิจ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพยากรณ์การแพร่ระบาดของโรค 4. ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรเป้าหมายด้วยการจัดทำเอกสารคู่มือ การจัดการโรคสำคัญของพืชเศรษฐกิจ และจัดทำเป็นฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ในลำดับต่อไป 5. จัดตั้งเป็นหน่วยงานรองรับการฝึกงานก่อนจบการศึกษา (internship) สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี โท และเอก สาขาโรคพืชให้มีพื้นฐานความรู้และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ด้านการวินิจฉัยและอารักขาพืชอย่างมีศักยภาพ



คณาจารย์ประจำหน่วยวิจัยและบริการโรคพืช
หัวหน้าหน่วยวิจัย : เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เจ้าหน้าที่วิจัย : เป็นเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการวิจัย ผู้ช่วยวิจัย : เป็นนิสิตดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ประจำภาควิชาฯ ที่ประจำห้องปฏิบัติการต่างๆ คือ 1. ห้องปฏิบัติการโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา 2. ห้องปฏิบัติการโรคพืชที่เกิดจากแบคทีเรีย / ไฟโตพลาสมา 3. ห้องปฏิบัติการโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส / ไวรอยด์ 4. ห้องปฏิบัติการโรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอP
วิธีเก็บตัวอย่างเพื่อการวินิจฉัยโรค
1. เก็บส่วนของพืชที่เพิ่งเริ่มแสดงอาการโรคและเห็นอาการชัดเจนใส่ถุงพลาสติกอย่าเก็บส่วนของพืชที่แห้งตายแล้วรวมไปด้วยกันเก็บในที่เย็นหรือร่มอย่าให้ตัวอย่างตากแดดแล้วรีบส่งวินิจฉัยทันทีหากเป็นไปได้ควรนำส่วนของพืชปกติไปด้วย 2. ถ้าพืชแสดงอาการแคระแกรนหรือเหลืองให้ขุดทั้งต้นทั้งรากโดยมีดินติดมาด้วยอย่าดึงเฉพาะต้นมาเนื่องจากต้องอาศัยการสังเกตลักษณะรากต้องแยกเชื้อสาเหตุที่รากและต้องวิเคราะห์คุณสมบัติบางประการของดิน 3. แยกตัวอย่างพืชต่างชนิดต่างอาการไว้ต่างถุงกัน พร้อมทั้งให้ รายละเอียดไว้บนถุงหรือกระดาษด้วยปากกาที่กันน้ำได้ 4. ถ้าจำเป็นต้องส่งตัวอย่างพืชไปตรวจวินิจฉัยโรคทางไปรษณีย์ควรสอดตัวอย่างพืชไว้ในกระดาษหนังสือพิมพ์ซ้อนหลายๆชั้นบรรจุซองหรือกล่องกระดาษ ส่วนลำต้น รากและดินควรบรรจุใส่ถุงพลาสติก 5. กรอกข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชที่เป็นโรคโดยละเอียดเพื่อช่วยให้การวินิจฉัยโรคทำได้ถูกต้อง
|
เสนอแนะโดย Anonymous เปิด 2008-10-10 20:16:15 อยากทราบว่าพืชมีอาการด่าง โดยจะด่างและหงิกมาก ใบเหลือง แล้วผลมีขนาลดลง เป็นโรคอะไรเหรอคับ ช่วยกรุณาให้ข้อมูลผมด้วยนะคับ | เสนอแนะโดย Anonymous เปิด 2008-10-10 20:17:10 ลืม e-mail คับ
| เสนอแนะโดย
เปิด 2008-10-15 09:50:37 ขอรบกวนหน่อยนะคะ คือว่าฟักทองที่ปลูกอยู่มีอาการใบหดย่น ใบที่แก่หน่อยมีลักษณะใบด่าง อาการคล้ายกับอาการที่โดนไวรัสเข้าทำลายแต่สังเกตยอดที่แตกใหม่ก็ยังคงเป็นปกติอยู่ จึงไม่แน่ใจว่าเกิดจากไวรัสจริงหรือป่าว การระบาดเกิดขึ้นอยู่ทั่วแปลง แปลงหนึ่งมีต้นฟักทองประมาณ 300 ต้น ต้นที่แสดงอาการมีอยู่ประมาณ 50 ต้น อยากทราบว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรคะ | เสนอแนะโดย
เปิด 2008-11-04 20:18:31 ขอตอบคำถามทั้งกรณีของคำถามแรกและคำถามที่สองไปพร้อมกัน คือ การที่ต้นพืชมีอาการใบด่างและ/หรือหงิกนั้น รวมทั้งในบางครั้งอาจจะทำให้ผลผลิตมีขนาดเล็กลงหรือเสียหายด้วยนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน อาจเกิดจากการทำลายของไวรัส การทำลายของเพลี้ยไฟ ไร หรือเกิดจากการขาดธาตุอาหาร ในบางครั้งอาจเกิดจากความผิดปกติอื่น ๆ เช่น การได้รับสารพิษโดยเฉพาะสารควบคุมวัชพืช สำหรับอาการใบด่างของพืชตระกูลแตงหากเกิดจากไวรัส มักพบอาการได้ชัดเจนที่ส่วนยอดหรือใบอ่อน มากกว่าใบแก่ และหากไม่แน่ใจหรือต้องการคำตอบที่ถูกต้องรวมทั้งคำแนะนำในการควบคุมโรค ขอแนะนำว่าควรนำตัวอย่างมาที่ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค หรืออาจใช้วิธีส่งภาพมาพร้อมกับคำถามก็ได้เช่นกัน รส.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ | เสนอแนะโดย
เปิด 2008-11-04 20:20:41 ขอแก้ไขชื่อให้ถูกต้อง เป็น รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ | เสนอแนะโดย
เปิด 2008-11-19 11:03:02 อยากทราบว่าถ้าพืชที่ปลูกเกิดมีอาการผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งทางผู้ปลูกเองไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร แต่ต้องการตรวจสอบพืชนั้นๆๆ สามารถที่จะส่งรูป คำอธิบาย หรือตัวอย่างพืช ไปทำการตรวจสอบที่ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร ได้ไหมครับ ถ้าส่งรูปถ่ายอยากส่งทางอีเมลล์ครับ และต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆๆ หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ บุญญฤทธิ์ (จ.นครนายก) 081 983 6847 | เสนอแนะโดย koyobi เปิด 2009-02-01 18:00:51 สอบถามข้อมูลโรคที่เกิดกับมะนาวค่ะ ช่วยวินิจฉัยโรคที่เกิดกับกิ่งมะนาวดังแสดงในรูปค่ะ มีลักษณะเป็นแผ่นสีขาวอมชมพูเคลือบที่กิ่งมะนาว เมื่อเวลาผ่านไปซักระยะ กิ่งดังกล่าวจะแห้งตายค่ะ อยากสอบถอมว่าเกิดจากเชื้อใด และมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร ช่วยตอบกลับที่
ด้วยค่ะ และถ้าต้องการส่งตัวอย่างไปตรวจสอบ เสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้างคะ ขอบคุณมากค่ะ |
กรุณาล็อกอิน หรือลงทะเบียนเพื่อจะเขียนความคิดเห็น |